"องค์กรแห่งความสุข สร้างคนดี มีคุณภาพ ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี"
- คำนิยามวิสัยทัศน์
1. องค์กรแห่งความสุข
1) บริหารจัดการสำนักงานเขตพื้นที่และสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามบริบท
2) เพิ่มโอกาส ความเสมอภาค และลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาให้ผู้เรียนทุกคนได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ
2. สร้างคนดี
1) พัฒนาผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีสมรรถนะในการปฏิบัติงานสอดคล้องกับมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ
2) จัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สอดคล้องกับบริบทและวิถีการดำรงชีวิต
3. มีคุณภาพ
จัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีสมรรถนะตามหลักสูตรและทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
4. ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีสนับสนุนให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา
นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการศึกษา
1. บริหารจัดการสำนักงานเขตพื้นที่และสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามบริบท
2. พัฒนาผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีสมรรถนะในการปฏิบัติงาน สอดคล้องกับมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ
3. จัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สอดคล้องกับบริบทและวิถีการดำรงชีวิต
4. จัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีสมรรถนะตามหลักสูตรและทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
5. สนับสนุนให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการศึกษา
6. เพิ่มโอกาส ความเสมอภาค และลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาให้ผู้เรียนทุกคนได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ
- ค่านิยม
เขตพื้นที่แห่งความสุขสู่ความสำเร็จ : Happiness to Success
- จุดเน้นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล (5 เพิ่ม 5 ลด 5 สร้าง)
5 เพิ่ม
จุดเน้น |
กรอบการดำเนินงาน |
1. เพิ่มความสุขให้กับนักเรียน ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา |
1. เพิ่มความสุขให้กับนักเรียน ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา
1.1 ส่งเสริมกระบวนการของการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมและสร้างความสัมพันธ์อันดีในองค์กร
1.2 พัฒนาระบบการทำงานที่ยืดหยุ่นมีประสิทธิภาพ ด้วยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้
1.3 ยกย่องชื่นชมสร้างขวัญและกำลังใจให้กับนักเรียน ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา
1.4 จัดสวัสดิการและสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างเพียงพอ
1.5 ส่งเสริมกิจกรรมกีฬาและนันทนาการในโรงเรียน
1.6 สร้างบรรยากาศที่ดีภายในโรงเรียนให้มีความร่มรื่น สะดวก สวยงาม
|
2. เพิ่มทักษะการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณ |
2.1 ส่งเสริมและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยและคณิตศาสตร์ด้วยวิธีการที่หลากหลาย
2.2 จัดบรรยากาศและกิจกรรมที่ส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณ
2.3 ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะและความสามารถด้านคณิตศาสตร์และด้านการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อเพิ่มสมรรถนะผู้เรียนตามแนว PISA
|
3. เพิ่มศักยภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศ |
3.1 พัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถพิเศษ ด้านคณิตศาสตร์ ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านภาษา ด้านทัศนศิลป์ ด้านดนตรี ด้านนาฏศิลป์ และด้านกีฬา
3.2 ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพตามพหุปัญญา
3.3 ส่งเสริมความเป็นเลิศของผู้มีความสามารถพิเศษอย่างเต็มศักยภาพ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
|
4. เพิ่มโอกาสและความเสมอภาค |
4.1 พัฒนาระบบการป้องกัน การเฝ้าระวังและการดูแลช่วยเหลือเด็กกลุ่มเสี่ยง เด็กตกหล่น เด็กออกกลางคัน เด็กในถิ่นทุรกันดารและพื้นที่เกาะ และเด็กในกลุ่มชาติพันธุ์ ตามความต้องการจำเป็นรายบุคคล เพื่อไม่ให้หลุดจากระบบการศึกษา โดยบูรณาการความร่วมมือกับบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
4.2 ส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ เด็กพิการ และเด็กด้อยโอกาสได้รับโอกาสเข้าถึงการศึกษา แหล่งเรียนรู้ และการฝึกอาชีพ ที่หลากหลายเหมาะสมตามศักยภาพ เพื่อให้มีทักษะในการดำเนินชีวิต สามารถพึ่งตนเองได้
4.3 ส่งเสริมระบบการแนะแนวและการชี้แนะ (Coaching) ตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงระดับมัธยมศึกษา ตอนต้น เพื่อให้ผู้เรียนได้ค้นพบแนวทางการเรียน และเป้าหมายชีวิตที่ตนเองชอบ สามารถปรับเปลี่ยนได้
|
5. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหาร |
5.1 ส่งเสริมให้สถานศึกษามีระบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพ
5.2 สถานศึกษา มีการวางแผนและดำเนินการให้สอดคล้องตามวิสัยทัศน์ของสถานศึกษา
5.3 การจัดองค์การ (Organizing) สถานศึกษาต้องจัดโครงสร้างการทำงานตามความถนัด ความสามารถของบุคลากร และบริบทของสถานศึกษา
5.4 ผู้บริหารส่งเสริม และเปิดโอกาสให้ครูบุคลากร มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นสู่การปฏิบัติ
5.5 พัฒนาสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นผู้นําทางวิชาการ นํานโยบายสู่การปฏิบัติ และมีทักษะในการบริหารการเปลี่ยนแปลง
|
5 ลด
จุดเน้น |
กรอบการดำเนินงาน |
1. ลดความรุนแรง |
1.1 ส่งเสริมการป้องกันความรุนแรงในโรงเรียน
1.2 ส่งเสริมการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน และระหว่างครูกับผู้เรียน
1.3 สร้างวินัยเชิงบวกเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้เรียน
|
2. ลดภาวะทุพโภชนาการ |
2.1 ส่งเสริมผลผลิตเพื่ออาหารกลางวันในโรงเรียนตามบริบทและความพร้อมของโรงเรียน
2.2 เฝ้าระวัง ติดตามภาวะทุพโภชนาการในโรงเรียน
2.3 พัฒนาระบบสุขาภิบาลอาหารที่ดีและน้ำดื่มสะอาดในโรงเรียน
2.4 ส่งเสริมการดำเนินงานการจัดการอนามัยโรงเรียน
|
3. ลดความซ้ำซ้อนในการบริหารจัดการ |
3.1 ปรับปรุงขั้นตอนหรือรูปแบบ โดยใช้เทคโนโลยีหรือวิธีการที่เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
3.2 ดำเนินงานตามคู่มือการปฏิบัติงานที่มีมาตรฐานในการทำงาน (Standard Operating Procedure : SOP) เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
3.3 บูรณาการการทำงานระหว่างกลุ่มงาน/ฝ่าย
|
4. ลดภาระการประเมินของสถานศึกษา |
4.1 ปรับปรุง เปลี่ยนกระบวนการการประเมินเพื่อนำผลไปใช้ได้ครอบคลุมหลายมิติ
4.2 ส่งเสริมการใช้รูปแบบการประเมินผู้เรียน ครู ผู้บริหารที่เน้นการประเมินตามสภาพจริงและการรายงานข้อมูลของสถานศึกษาด้วยเทคโนโลยี
|
5. ลดปัญหาสิ่งแวดล้อม |
5.1 ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5.2 ส่งเสริมการจัดการขยะ การใช้พลังงาน และการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนของสถานศึกษา
|
5 สร้าง
จุดเน้น |
กรอบการดำเนินงาน |
1. สร้างความรักในสถาบันหลักของชาติ |
1.1 ขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
1.2 ขับเคลื่อนพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติ
1.3 พัฒนาการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และศีลธรรม
1.4 เสริมสร้างวินัยและความเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง ด้วยกิจกรรมจิตอาสา ชุมนุม ชมรม และการมีส่วนร่วมให้เกิดวิถีประชาธิปไตยในโรงเรียน แสดงออกอย่างสร้างสรรค์
|
2. สร้างเสริมอาชีพและการมีรายได้ระหว่างเรียน |
2.1 ส่งเสริมความร่วมมือการพัฒนาทักษะอาชีพในโรงเรียนกับสถาบันการอาชีวศึกษา
2.2 ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนทักษะอาชีพและการฝึกปฏิบัติในสถานประกอบการ
2.3 ส่งเสริมให้นักเรียนทำงานหารายได้ในช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อน
|
3. สร้างความปลอดภัยในทุกมิติ |
3.1 ตรวจสอบ ประเมิน และปรับปรุง อาคารสถานที่ สภาพแวดล้อม ให้เป็นพื้นที่ปลอดภัย ปราศจากพื้นที่อับสายตาหรือทรุดโทรม และเอื้อต่อการเรียนรู้
3.2 พัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือกนักเรียน
3.3 สร้างภูมิคุ้มกันทางด้านจิตใจ สังคม ให้กับผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาไม่ให้เข้าไปข้องเกี่ยวกับยาเสพติดโดยอาศัยความร่วมมือกับทุกภาคส่วน
3.4 ส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อความปลอดภัยด้วยมาตรการ 3ป (ป้องกัน ปลูกฝัง ปราบปราม) และจัดทำแผนเผชิญเหตุเตรียมความพร้อมรับมือภัยทุกรูปแบบอย่างเป็นระบบ
|
4. สร้างนวัตกรรมทางการศึกษา |
4.1 ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู และนวัตกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน
|
5. สร้างการเรียนรู้ทุกที่ทุกเวลา |
5.1 ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัล ให้แก่ผู้เรียนทุกที่ทุกเวลา (Anywhere Anytime)
5.2 ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสร้างการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
5.3 ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ “อุทยานธรณีสตูล”อุทยานธรณีโลกแห่งแรกในไทย
|
1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาเป็นองค์กรที่บริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล บุคลากรมีความสุข ส่งผลให้เกิดความสำเร็จ
2. ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีสมรรถนะในการปฏิบัติงาน เป็นไปตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพ
3. ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
4. ผู้เรียนมีสมรรถนะตามหลักสูตรและทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
5. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา เป็นองค์กรที่ทันสมัย มีนวัตกรรม นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารจัดการ
6. ประชากรวัยเรียนทุกคนได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ เท่าเทียม ทั่วถึงและเสมอภาค